รากศัพท์ภาษาอังกฤษของคำว่าควิลท์ มาจากคำว่า culcita ในภาษาลาตินซึ่งแปลว่า"ที่นอน" ควิลท์กำเนิดขึ้นมายาวนาน ร่องรอยแรก ๆ ในประวัติศาสตร์ที่พบควิลท์นั้นถูกทำเป็นเสื้อผ้าของกษัตริย์ในอียิปต์ เและควิลท์พรมผ้าลินินของชนเผ่ามองโกเลียในดินแดนจีน
พรมที่นักโบราณคดีขุดพบในสุสานซฺยงหนู (Xiongnu tombs) ทางตอนเหนือของประเทศจีน
ควิลท์เริ่มเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วง ศตวรรษที่ 17 (สมัยกรุงศรีอยุธยา) นำเข้ามาโดยชาวอังกฤษ เวลซ์ และชาวดัตช์
สำหรับกลุ่มอามิช ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนคริสต์
นิกายอนาแบ๊ปติส ที่เคร่งศาสนา จารีตประเพณีแบบดั้งเดิมนั้น พวกเขาเป็นชาวดัตช์ที่เข้ามาตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 16 โดยมีชุมชนใหญ่อาศัยรวมตัวกันอยู่ในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยเฉพาะที่เมือง Lancaster ซึ่งพวกเขาเริ่มนิยมทำควิลท์กันในช่วงศตวรรษที่ 18
ในยุคสมัยนั้น ควิลท์ที่นิยมกันโดยทั่วไป จะเป็นผ้าไหมที่มีการควิลท์เต็มทั่วผืน (whole cloth quilt)
แต่ชาวอามิชกลับชอบใช้ผ้าขนสัตว์และผ้าคอตตอนสีพื้น เช่น สีน้ำตาล ฟ้า และสีน้ำเงิน และพวกเขามักใช้ผ้าสีดำเป็นผ้าพื้นหลัง นอกจากนี้ชาวอามิชยังนิยมแพทเทิร์นการต่อผ้าที่เรียบง่าย เช่น บล๊อกผ้า 9 ช่อง ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตชนบทที่ราบเรียบ ไร้ความวุ่นวายของพวกเขา แพทเทิร์นอีกแบบที่นิยมในหมู่ชาวอามิช คือ "แพทเทิร์นการเดินทางรอบโลก - Trip Around the word pattern"
อามิชควิลท์แบบดั้งเดิม
Trip around the world Amish quilt
ในเวลาต่อมา ชาวอามิชเริ่มมีการใช้สีสันอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น สีแดง ส้ม เขียว และสีม่วง เป็นต้น แต่ยังคงใช้เพียงผ้าสีพื้นในการต่อผ้าและใช้ผ้าพื้นหลังสีดำอยู่
ในปัจจุบันชาวอามิชในเพนซิลเวเนียยังคงรวมกลุ่มกันทำควิลท์ และพวกเขามีความเชื่อว่าการทำควิลท์ของหญิงชาวอามิช คือ พรสวรรค์ที่ได้รับการประทานจากพระผู้เป็นเจ้า
แม้ว่าด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป พวกเขาใช้แพทเทิร์นการต่อผ้าที่หลากหลายมากขึ้น มีการผสมผสานลายผ้าและแพทเทิร์นแบบสมัยใหม่ มีการนำผ้าสีอ่อนมาใช้ในการทำผ้าพื้นหลัง แต่ทักษะและฝีมือที่ปราณีตบรรจงที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาอย่างยาวนานนับร้อยปีจากรุ่นสู่รุ่น ยังคงไว้ให้เห็นเด่ดชัดในชิ้นงานของพวกเขา
แม้ว่าควิลท์ของชาวอามิชจะมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบไปแล้ว แต่ควิล์เตอร์ชาวอเมริกันทุกวันนี้ ก็ยังคงเรียกควิลท์ที่ต่อด้วย้ผ้าสีพื้นและมีพื้นหลังเป็นผ้าสีดำ ว่า "อามิชควิลท์"
ที่มา
Comments